สธ.ประกาศ โอไมครอน ระบาดครอบคลุมทุกพื้นที่ คาดสิ้นเดือนระบาด 100%
นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เผยข้อมูลระหว่างการแถลงข่าว ความคืบหน้าการเฝ้าระวังสายพันธุ์โควิด 19 ในประเทศไทย ว่า สำหรับการเฝ้าระวังสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์ “โอไมคอน”
ในประเทศไทยขณะนี้ พบว่ามีการกระจายของสายพันธุ์ “โอไมครอน” ไป ทั้ง 77 จังหวัดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยมีจังหวัดที่ พบมากที่สุด 10 อันดับ ได้แก่
- กรุงเทพมหานคร 4,178 ราย
- ชลบุรี 837 ราย
- ภูเก็ต 434 ราย
- ร้อยเอ็ด 355 ราย
- สมุทรปราการ 329 ราย
- สุราษฎร์ธานี 319 ราย
- กาฬสินธุ์ 301 ราย
- อุดรธานี 217 ราย
- เชียงใหม่ 214 ราย
- ขอนแก่น 214 ราย
สัดส่วนสายพันธุ์ที่เฝ้าระวัง แบ่งตามกลุ่มตัวอย่าง โดย กระทรวงได้มีการติดตามและตรวจหาสายพันธุ์ “โอไมครอน” จากกลุ่ม 7 กลุ่มตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 11-17 ม.ค. 65 ได้แก่
- กลุ่มตัวอย่างที่สะท้อนภาพรวมของประเทศ ตรวจพบโอไมครอน 83.7%
- คลัสเตอร์ใหม่ (มีจำนวนผู้ติดเชื้อมากกว่า 50 คนในคลัสเตอร์ ) ตรวจพบโอไมครอน 84.86%
- กลุ่มที่มีอาการรุนแรง และเสียชีวิต ทุกราย ตรวจพบโอไมครอน 67.21%
- กลุ่มที่ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ ตรวจพบโอไมครอน 72.35 %
- กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ ตรวจพบโอไมครอน 74.58%
- ลักษณะอื่น ๆ ที่สงสัยไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ตรวจพบโอไมครอน 75.90%
- กลุ่มผู้ที่เคยติดเชื้อมาก่อน (ติดเชื้อซ้ำ ) ตรวจพบโอไมครอน 100 %
นพ.ศุภกิจ กล่าวต่อว่า ในภาพรวมจากการตรวจโควิด-19 เพื่อหาสายพันธุ์ “โอไมครอน” นั้น พบว่าขณะนี้ในประเทศมีการระบาดของ “โอไมครอน” แล้วกว่า 97-98 % อีก 2 % เป็นการระบาดของสายพันธุ์เดลตา ซึ่งจะพบในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง และเสียชีวิต โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่เคยติดโควิด19 มาก่อนและเกิดการติดเชื้อซ้ำอีกการตรวจหาสายพันธุ์ระบุชัดเจนว่า เป็นการติดเชื้อโอไมครอน 100 % สำหรับสถานการณ์การระบาดในครั้งนี้ จาการวิเคราะห์ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ จึงสรุปได้ว่า การแพร่ระบาดของโอไมครอน เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยพบในกลุ่มผู้ทีเดินทางมาจากต่างประเทศเกือบทั้งหมด 96.9% และพบว่ามีการติด “โอไมครอน” ในประเทศ 80.4% สธ.คาดการณ์ว่าภายในปลายเดือนมกราคม 2565 การแพร่ระบาดของโควิด-19ในประเทศไทยจะกลายเป็นสายพันธุ์ “โอไมครอน” เกือบทั้งหมด
อย่างไรก็ตาม สำหรับการป่วยในกลุ่มที่มีความรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต ยังพบสัดส่วนการติดเชื้อสายพันธุ์เดลตาอยู่ในอัตราที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยในกลุ่มทั่วไป ส่วนกลุ่มที่ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ เฉพะในบุคลากรทางกาแพทย์ยังพบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอไมครอน แต่ส่วนใหญ่ยังเป็นการติดเชื้อสายพันธุ์เดลตา ในขณะที่ผู้ที่มีประวัติการติดเชื้อโควิด-19มาก่อนพบว่าการติดเชื้อซ้ำเป็นการติดเชื้อสายพันธุ์ “โอไมครอน” ทั้งนี้ยังเน้นย้ำให้ประชาชนเข้ารับวัคซีนเข็ม 3 เพื่อเป็นการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ให้เกิดความต่อเนื่อง เพื่อลดอัตราการป่วยรุนแรง และเสียชีวิต สำหรับการฉีดวัคซีนเข็ม 3 หรือเข็มกระตุ้นนั้นได้มีการเปิดบริการประชาชนทั้งรุปแบบลงทะเบียน และรูปแบบวอล์กอิน เพื่อความสะดวกในการเข้ารับและการกระจายวัคซีนอย่างรวดเร็ว