อัพเดทข่าวสารบ้านเมือง

cover-photo-3tnew

ยุบศบค. ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565

ยุบศบค. ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565

นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค. ได้ออกมาแถลงถึงผลการประชุม ศบค.ชุดใหญ่ โดยได้เปิดเผยว่า มีการแรกพิจารณาความเหมาะสม การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ตามที่ พล.อ.สุพจน์ มาลานิยม เลขาธิการ สมช. รายงานว่า ขณะนี้สถานการณ์การแพร่ระบาดภาพรวมของโรคมีแนวโน้มที่ดีขึ้น ผู้ติดเชื้อรายใหม่และผู้เสียชีวิตลดลง ปัจจุบันประชาชนและผู้ประกอบการสามารถดำเนินชีวิตและขับเคลื่อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมให้เข้าสู่ภาวะปกติได้แล้ว รวมถึงกระทรวงสาธารณสุขได้ปรับให้โควิด-19 จากโรคติดต่ออันตรายเป็นโรคติดต่อเฝ้าระวัง ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. เป็นต้นไป และจัดทำกรอบนโยบายแนวปฏิบัติของภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน ภายหลังโควิด-19 ปรับสู่การเป็นโรคติดต่อเฝ้าระวังอย่างชัดเจนแล้ว

ดังนั้น ทำให้มติที่ประชุม ได้ลงมติ ยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉิน หรือ สถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร จำนวน 2 ฉบับ คือ ฉบับที่ลงวันที่ 24 มี.ค. 63 และฉบับที่ ลงวันที่ 27 ก.ค. 65 รวมทั้งบรรดาข้อกำหนด ประกาศและคำสั่งที่ นรม. และ ครม. ใช้อำนาจแห่งการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั้งหมด โดยให้มีผลในวันที่ 1 ต.ค. 65 เป็นต้นไป โดยนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข จะใช้พ.ร.บ.โรคติดต่อปี 2558 ซึ่งขณะนี้อยู่ที่กรอบสีเขียว อัตราการป่วยตายน้อยกว่าที่ 0.1% อัตราการครองเตียงอยู่ที่ 11-24% หากอนาคตสถานการณ์สีต่างๆ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จะมีหน่วยงานต่างๆรับไปดูแล

สำหรับโครงสร้างการดำเนินงานในระยะสิ้นสุด พ.ร.ก.ฉุกเฉิน จะมีคณะอนุกรรมการเรื่องวัคซีน คณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ภายใต้คณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ ซึ่งมีอยู่แล้วทำหน้าที่ตรงนี้ต่อ ส่วนการจัดหากระจายวัคซีน จะเป็นคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ การเฝ้าระวังเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์หลังการได้วัคซีน จะมีคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญพิจารณาเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์